top of page

6 วิธี เตรียมตัวรับมือกับหน้าฝน สำหรับเจ้าของบ้าน

rain_intro.jpg

ในที่สุด!! ฝนเย็นๆชื่นฉ่ำมาแล้วจ้าา

ฝนมาช่วยดับความร้อนระอุจากเดือนเมษายนที่ผ่านมา

ทำให้บ้านเราเย็นลง บรรยากาศน่านอนสุดๆไปเลยคะ

แต่! เจ้าของบ้านอย่าเพิ่งนอนเพลิน...

เราควรตรวจเช็ครอบๆบ้าน เผื่อมีความเสียหาย

 

ในปีที่ผ่านมา บ้านของเราอาจมีการสึกหรอ เกิดความเสียหายตามจุดต่างๆ

เมื่อพบจุดชำรุด ควรเร่งซ่อมแซมให้เรียบร้อย

เพื่อกำจัดปัญหา และป้องกันบ้านจากความเสียหายที่จะตามมาในอนาคต

แล้วจะเริ่ม ตรงไหนดี?

ไม่ต้องห่วงคะ

เรามี "6 จุด เช็คบ้าน เตรียมรับหน้าฝน"

ขอบคุณ ข้อมูลดีๆจาก บ้านและสวน

เตรียมความพร้อม รับหน้าฝน

Anchor 1
rain_1.jpg
  1. เช็ครอยรั่วรางระบายน้ำฝนบนหลังคา

บ้านส่วนใหญ่ในไทยมักจะมีรางระบายน้ำฝนเพื่อลดการกระแทกลงสู่พื้นโดยตรง โดยเฉพาะช่วงฝนตกหนักๆน้ำฝนจะไหลตามความลาดเอียงของหลังคาลงมากระแทกกับพื้นด้านล่าง ยิ่งตัวบ้านสูงเท่าไหร่ แรงกระแทกของน้ำฝนยิ่งแรงตามไปด้วย จนอาจสร้างความเสียหายให้แก่พื้นที่รอบบ้านได้ เมื่อรางน้ำฝนมีรูรั่วก็จะยิ่งเพิ่มจุดการตกกระแทกพื้นของน้ำ

วิธีแก้ ซ่อมแซมรางระบายน้ำให้เรียบร้อย จะช่วยลดแรงกระแทกของน้ำฝนได้ และยังช่วยชะลอการชะล้างบริเวณพื้นที่หน้าดิน

rain_2.jpg

2. กำจัดเศษใบไม้ที่อาจอุดตันแนวรางระบายน้ำ

นอกจากตรวจสอบรูรั่วบริเวณรางหลังคา หลายครั้งที่เรามักจะพบน้ำขัง 

น้ำระบายไม่ทันจากแนวรางระบายน้ำบนหลังคา สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะเศษใบไม้ที่ร่วงลงไปขัง เมื่อสะสมนานวันเข้าก็อุดตันรู ทำให้ระบายน้ำได้ยาก

วิธีแก้ ทำตะแกรงครอบตลอดแนวรางระบายน้ำฝนบนหลังคาเพื่อป้องกันไม่ให้เศษใบไม้ตกลงไปอุดตัน

rain_3.jpg

3. ตรวจสอบรอยต่อระหว่างผนังกับวงกบหรือบานประตูกับวงกบดู

ทุกครั้งที่ฝนเริ่มตก สิ่งแรกที่ทุกคนทำคือปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิด

เพื่อกันฝนสาด แต่บางครั้งทำไมยังมีน้ำซึมเข้ามาตามขอบประตูหรือหน้าต่างอยู่บ้าง นั่นเป็นเพราะตรงรอยต่อระหว่างผนังกับวงกบอาจจะมีช่องห่าง

ให้ยาแนวด้วยซิลิโคน แต่หากวงกบยังติดแน่นดี น้ำฝนอาจซึมเข้ามาทางรอยต่อระหว่างบานประตูกับวงกบ

วิธีแก้ หากมีช่องห่างระหว่างรอยต่อให้ยาแนวด้วยซิลิโคน หรือ เซาะร่องเล็กๆขนาด 1 x 1 เซนติเมตร บริเวณใต้วงกบด้านบนร่นเข้ามาจากขอบนอก 3 เซนติเมตร สำหรับเป็นบัวหยดน้ำเพื่อหยุดทางน้ำที่กำลังจะไหลซึมเข้าขอบด้านใน

rain_4.jpg

4. เช็คกิ่งไม้ใหญ่ที่อยู่ใกล้ตัวบ้าน

ต้นไม้ใหญ่ที่ปลูกในบริเวณบ้านหรือใกล้ตัวบ้าน เมื่อเจอสภาพฝนฟ้าคะนอง อาจจะหักโค่นลงมาแบบไม่ทันตั้งตัว ฉะนั้นก่อนจะเข้าฤดูฝน หมั่นตัดแต่งกิ่งให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยจากตัวบ้านไว้ก่อน เพราะเมื่อหมดหน้าฝน กิ่งก้านก็จะแตกออกใหม่อีกครั้ง ไม่ต้องกังวล

วิธีแก้ ตัดกิ่งไม้ใหญ่ออกให้พ้นจากสายไฟหรือตัดกิ่งที่มีแนวโน้มจะหักโค่นง่าย

rain_5.jpg

5. ย้ายเฟอร์นิเจอร์สนามหลบฝน

แม้เฟอร์นิเจอร์สนามจะถูกออกแบบมาให้ทนต่อสภาพฟ้าฝน แต่ในบางประเภทอาจมีวัสดุที่เปราะบางง่าย เช่นวัสดุเลียนแบบไม้ ที่คนขายอาจจะไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ก่อนที่เราจะซื้อผสมอยู่ในเฟอร์นิเจอร์ ฉะนั้นเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนควรย้ายชั่วคราวไปอยู่บริเวณที่ไม่ถูกฝนชะล้างได้ก่อน หรือถ้าเป็นชิ้นใหญ่ที่เคลื่อนย้ายยากอาจจะแก้ไขด้วยการนำผ้าใบมาคลุม

วิธีแก้ นำผ้าใบมาคลุมช่วงหน้าฝน ป้องกันการเสื่อมสภาพ อายุการใช้งานสั้น

rain_6.jpg

6. ตรวจสอบภาชนะขังน้ำฝน

บางบ้านที่มีโอ่งหรือภาชนะที่กักเก็บน้ำได้ภายในบริเวณนอกบ้าน อย่าลืมปิดฝาให้มิดชิด เพราะเมื่อน้ำฝนขังอาจจะเกิดแหล่งเพาะยุงลายตามมาได้ หรือบางบ้านที่รองน้ำไว้ใช้ ก็อย่าลืมปิดฝาให้มิดิดหลังจากที่น้ำเต็มภาชนะ เพราะเมื่อไรก็ตามที่มีน้ำขัง จะเกิดเป็นจุดแหล่งเพาะยุงลายได้ทันที

วิธีแก้ คว่ำภาชนะต่างๆ ที่จะขังน้ำฝนซึ่งเป็นแหล่งเพาะยุงลายได้

การเตรียมความพร้อมที่ดีตั้งแต่ก่อนเข้าฤดูฝน

จะช่วยลดการเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาภายในบ้านได้ทั้งการที่น้ำชะบริเวณบ้าน

หรือน้ำซึมเข้าในตัวบ้าน ฉะนั้นหากใครที่กำลังมองหาอุปกรณ์ในการซ่อมแซมบ้าน 

สนใจสินค้าชิ้นไหน หรือต้องการปรึกษา ติดต่อมาได้ทาง LINE: @ktoolmart เลยค่า
bottom of page